หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒ อาหารรสเด็ด
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๒
รหัสวิชา ท ๒๑๑๐๑ ชื่อวิชา ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ เวลา ๘ ชั่วโมง
....................................................................................................................................................................
๑. ตัวชี้วัด
๑. อ่านออกเสียงบทร้อยกรองได้ถูกต้องเหมาะสมกับเรื่องที่อ่าน
๒. ตีความคำยากในเอกสารวิชาการ โดยพิจารณาจากบริบท
๓. จับใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่าน
๔. วิเคราะห์คุณค่าที่ได้รับจากการอ่านงานเขียนอย่างหลากหลายเพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิต
๕. พูดแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์เกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและดู
๖. ซื่อสัตย์สุจริต
๗. มีวินัย
๘. ขยัน
๙. มุ่งมั่นในการทำงาน
๒. เนื้อหาสาระ
๑. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเรื่อง กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน
๒. เนื้อหา
๓. วิเคราะห์คุณค่าเรื่อง กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน
๓. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ ๑
๑. ก่อนสอนครูตรวจการแต่งกายของนักเรียน ระเบียบของสถานศึกษา แล้วจึงครูสนทนากับนักเรียนเรื่อง “กาพย์” ว่ามีความหมายอย่างไร ประกอบด้วยอะไรบ้าง
๒. ครูอธิบายให้นักเรียนฟังว่ากาพย์บทเห่ชมเครื่องคาวหวาน เป็นคำประพันธ์ที่แต่งขึ้นเพื่อพรรณนาเกี่ยวกับอาหารที่บรรจงปรุงอย่าง “ถึงเครื่องถึงรส” สะท้อนถึงฝีมือปรุงอาหารอย่างหาที่เปรียบได้ยาก
๓. ครูซักถามนักเรียนถึงเรื่องการอ่านบทเรียนเรื่องกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน ควรอ่านอย่างไรจึงจะเข้าใจลึกซึ้ง
๔. นักเรียนอาสาสมัคร อ่านเรื่อง “ กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน ” ให้เพื่อนๆ ฟังหรือครูเปิดเครื่องบันทึกเสียงการอ่าน “ กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน ” ให้นักเรียนฟัง
๕. ครูนำแผนภูมิความหมายของศัพท์ และถ้อยคำสำนวนจากเรื่อง “กาพย์เห่ชม
เครื่องคาวหวาน” มาติดบนกระดานดำ ให้นักเรียนศึกษาความหมายของคำศัพท์
๖. แบ่งนักเรียนออกเป็น ๔ กลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มศึกษาเรื่องต่อไปนี้
๖. แบ่งนักเรียนออกเป็น ๔ กลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มศึกษาเรื่องต่อไปนี้
กลุ่ม ๑ จับประเด็นสำคัญของเรื่อง
กลุ่ม ๒ บอกจุดประสงค์ของเรื่อง
กลุ่ม ๓ จัดลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง
กลุ่ม ๔ สรุปเนื้อเรื่อง
๗. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมารายงานหน้าชั้น พร้อมส่งเอกสารที่ครู เพื่อเก็บไว้ในแฟ้มสะสมงาน
๘. นักเรียนช่วยกันซักถามเรื่องราวทั้งหมดจากกลุ่มต่าง ๆ เพื่อเป็นการสรุปบทเรียนและ
นำใบความรู้มาให้นักเรียนอ่าน
๙. มอบหมายให้นักเรียนทำใบงานที่ ๑ อย่างตั้งใจ (ขยัน) และมุ่งมั่นในการทำงาน
๑๐. ครูมอบหมายให้นักเรียนไปอ่านหนังสือหรือศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเป็นการบ้าน
ชั่วโมงที่ ๒
๑. สนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับเนื้อเรื่องเรื่อง “ กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน ” เพื่อเป็น
การทบทวนบทเรียนจากเรียนเมื่อครั้งที่แล้ว
๒. แบ่งนักเรียนแบบคละความสามารถเป็น ๔ กลุ่ม (สมาชิกตามความเหมาะสม) ให้แต่ละกลุ่มจัดประชุมกลุ่มย่อย เพื่อหาข้อสรุป ตามหัวข้อที่กำหนดให้ต่อไปนี้
กลุ่มที่ ๑ แสดงทรรศนะเกี่ยวกับ ความเป็นมาของกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน
กลุ่มที่ ๒ แสดงทรรศนะเกี่ยวกับ ความสำคัญของกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน
กลุ่มที่ ๓ แสดงทรรศนะเกี่ยวกับ คุณค่าของคำประพันธ์กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน
กลุ่มที่ ๔ แสดงทรรศนะเกี่ยวกับ ข้อคิดจากบทเรียน “กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน”
๓. ให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมารายงานกลุ่มหน้าชั้นเรียน เสร็จแล้วให้ทุกกลุ่มส่งผล
การประชุมกลุ่มและระดมความคิด เพื่อเก็บไว้ที่แฟ้มสะสมผลงาน
๔. นักเรียนและครูช่วยกันสรุปสาระสำคัญจากบทเรียน เรื่อง “ กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน ” อีกครั้ง
๕. ครูมอบหมายให้นักเรียนทำใบงานที่ ๒ เรื่อง “ กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน ”
๖. ครูมอบหมายให้นักเรียนไปอ่านหนังสือหรือศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเป็นการบ้าน
ชั่วโมงที่ ๓
๑. ครูและนักเรียนสนทนาทบทวนบทเรียนจากชั่วโมงที่ผ่านมา
๒. แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ ๕ - ๖ คน (ตามความเหมาะสม) แล้วให้แต่ละกลุ่มอ่านบทวิเคราะห์แล้วสรุปใจความสำคัญและแสดงความคิดเห็นเชิงวิเคราะห์จากเรื่อง “กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน”
๓. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลของการระดมสมองให้เพื่อนฟัง เมื่อเสนอด้วยการพูดจบแล้ว ให้ทุกกลุ่มส่งรายงานที่ครู
๔. ให้นักเรียนทำใบงานที่ ๓ เรื่อง “กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน” เสร็จแล้วส่งให้ครูตรวจ
๕. ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปบทเรียน
๖. มอบหมายให้นักเรียนไปอ่านหนังสือหรือศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเป็นการบ้าน
ชั่วโมงที่ ๔
๑. ครูและนักเรียนสนทนาทบทวนบทเรียนจากชั่วโมงที่ผ่านมา
๒. แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ ๕ - ๖ คน (ตามความเหมาะสม) แล้วให้แต่ละกลุ่มอ่านในใจแล้วสรุปใจความสำคัญและแสดงความคิดเห็นจากเรื่อง“กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน”
๓. ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลของการระดมสมองให้เพื่อนฟัง โดยใช้วิธีจับสลาก เมื่อเสนอด้วยการพูดจบแล้ว ให้ทุกกลุ่มส่งรายงานที่ครู
๔. ให้นักเรียนทำใบงานที่ ๔ เรื่อง“กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน” เสร็จแล้วส่งให้ครูตรวจ
๕. ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปบทเรียน
๖. มอบหมายให้นักเรียนไปอ่านหนังสือหรือบทเสภาเพิ่มเติมเป็นการบ้าน
ชั่วโมงที่ ๕
๑. ครูและนักเรียนสนทนาทบทวนบทเรียนจากชั่วโมงที่ผ่านมา
๒. แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ ๔ - ๖ คน (หรือตามความเหมาะสม) แล้วให้แต่ละกลุ่ม อ่านในใจแล้วสรุปใจความสำคัญและแสดงความคิดเห็นจากเรื่อง “กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน”
๓. ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลของการระดมสมองให้เพื่อนฟัง โดยใช้วิธีจับสลาก เมื่อเสนอด้วยการพูดจบแล้ว ให้ทุกกลุ่มส่งรายงานที่ครู
๔. ให้นักเรียนทำใบงานที่ ๕ – ๖ เรื่อง “กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน” เสร็จแล้วส่งให้ครูตรวจ
๕. ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปบทเรียน
๖. มอบหมายให้นักเรียนไปอ่านหนังสือหรือบทเสภาเพิ่มเติมเป็นการบ้าน
ชั่วโมงที่ ๖
๑. ครูสนทนากับนักเรียน เรื่องการพัฒนาความคิดโดยใช้แผนภาพความคิด
๒. แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม ให้แต่ละกลุ่ม กำหนดคำแทนมโนภาพ และคำที่กำหนดนั้นควรเป็นมโนภาพใกล้เคียงกัน เมื่อกำหนดคำได้แล้ว ให้เชื่อมโยงมโนภาพให้สัมพันธ์กัน
๓. ครูให้นักเรียนทำใบงานที่ ๗-๘
๔. ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปบทเรียน
ชั่วโมงที่ ๗
๑. ครูและนักเรียนสนทนาทบทวนบทเรียนชั่วโมงที่ผ่านมา
- อ่านออกเสียงธรรมดาให้ถูกต้องตามอักขรวิธี พร้อมทั้งแบ่งวรรคตอนให้ถูกต้อง
- ให้อ่านทำนองเสนาะพร้อม ๆ กัน ตามครูทีละบท
- ให้อ่านทำนองเสนาะพร้อม ๆ กัน ทั้งชั้น
- แบ่งกลุ่มให้อ่านทำนองเสนาะต่อกันจนจบเรื่อง
- ให้อ่านทำนองเสนาะเป็นรายบุคคล
๓. ครูและนักเรียนช่วยวิจารณ์การอ่านของแต่ละคนว่าถูกต้องและมีความไพเราะเพียงใด
๔. แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม (จำนวนกลุ่มและสมาชิกกลุ่มตามความเหมาะสม) แล้ว
ให้ทำกิจกรรมดังหาความหมายของคำจากพจนานุกรม
๕. ให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมาเสนอผลการค้นคว้าหน้าชั้นเรียน พร้อมส่งเอกสารประกอบการรายงาน
๖. ครูตั้งคำถามให้นักเรียนช่วยกันตอบคำถามจากเรื่อง
๗. ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปบทเรียน นักเรียนทำใบงาน
ชั่วโมงที่ ๘
๑. ครูและนักเรียนสนทนาทบทวนบทเรียนจากชั่วโมงที่ผ่านมา
๒. แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ ๕ - ๖ คน (ตามความเหมาะสม) แล้วให้แต่ละกลุ่มสรุปใจความสำคัญและแสดงความคิดเห็นเชิงวิเคราะห์จากเรื่อง “กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน ”
๓. ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลของการระดมสมองให้เพื่อนฟัง โดยใช้วิธีจับสลาก เมื่อเสนอด้วยการพูดจบแล้ว ให้ทุกกลุ่มส่งรายงานที่ครู
๔. ให้นักเรียนทำใบงานที่ ๙-๑๐ เรื่อง “กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน” เสร็จแล้วส่งให้ครูตรวจ
๕. ครูมอบหมายให้นักเรียนไปงานอุทยาน ร.๒ เพื่อไปดูการสาธิตทำขนมต่างๆที่กล่าวไว้ในกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน แล้วทำรายงานส่งครู
๔. สื่อและแหล่งการเรียนรู้
๔. สื่อและแหล่งการเรียนรู้
๑. หนังสือเรียนภาษาไทย ชุดวรรณคดีวิจักษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
๒. เครื่องบันทึกเสียง
๓. แผนภูมิความหมายของคำศัพท์และสำนวนจากเรื่อง
๔. ใบงานที่ ๑ – ๑๐
๕. ใบความรู้
๖. แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
๗. แบบประเมินการอ่านบทร้อยกรอง
๕. การวัด/ประเมินผล
๑. ตรวจใบงาน
๒. ตรวจแฟ้มสะสมงาน
๓. การรายงานของนักเรียน
๔. การซักถาม และการตอบคำถาม
๕. การร่วมกิจกรรม
๖. แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
๗. แบบประเมินการอ่านบทร้อยกรอง
๖. กิจกรรมเสนอแนะ
นักเรียนควรอ่านหนังสือ เรื่องราชาธิราชเพิ่มเติมจากเรื่องที่เรียน
ใบความรู้
เรื่อง “กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน”
บทเห่มีเนื้อความต่างไปเพราะเป็นบทพรรณนาเกี่ยวกับอาหารที่บรรจงปรุงอย่าง “ถึงเครื่อง ถึงรส” สะท้อนถึงฝีมือปรุงอาหารอย่างหาที่เปรียบได้ยาก เมื่อได้อ่านคำประพันธ์ ๒ บทนี้ ผู้อ่านย่อมเกิดจินตภาพถึงแกงมัสมั่นรสเข้มข้นหอมกลิ่นเครื่องเทศและยำที่มีเครื่องครบครันปรุงรสด้วยน้ำปลาญี่ปุ่นน่าลิ้มลอง นอกจากแสดงว่าผู้ปรุงมีฝีมือเป็นเลิศในการทำอาหารแล้ว ผู้แต่งก็มีฝีมือในการพรรณนาให้ได้อรรถรสเป็นอย่างยิ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยซึ่งประกอบด้วยบทเห่ชมเครื่องคาว บทเห่ชมผลไม้ บทเห่ชมเครื่องหวาน บทเห่ครวญเข้า
กับงานนักขัตฤกษ์ และบทเห่เจ้าเซ็น
กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานนี้แต่งตามแบบกาพย์เห่หรือกาพย์เห่เรือ คือแต่งเป็นโคลงผสมกาพย์ ตอนต้นเป็นโคลงสี่สุภาพ ๑ บท จากนั้นเป็นกาพย์ยานี ๑๑ ไม่จำกัดจำนวนขยายความต่อจากโคลงบทนั้น โดยมากเนื้อความในกาพย์ยานีบทแรกจะเลียนความจากโคลงสี่สุภาพตอนต้น บทประพันธ์ในลักษณะนี้ หากพรรณนาความรู้เกี่ยวกับเรือหรือการเดินทางทางเรือ เรียกว่า กาพย์เห่เรือ แต่ถ้าพรรณนาเรื่องอื่นๆจะเป็นเรื่องใดก็ได้ เช่น ชมนก ชมหนังสือหรือชมเครื่องคาวหวาน ดังที่ได้อ่านอยู่นี้ เรียกว่า กาพย์เห่
เมื่อนึกถึงอาหารไทยในวรรณคดี คนทั้งหลายมักนึกถึงกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยซึ่งกล่าวถึงอาหารนานาชนิดโดยพรรณนาอาหารเหล่านั้นให้มีรูปลักษณ์ สีสัน รสชาติ ตลอดจนมีกลิ่นหอมชวนให้ลิ้มลองวรรณคดีเรื่องนี้จึงเป็นที่นิยมนำมากล่าวอ้างอิงในตำราอาหารของไทย อีกทั้งอาหารไทยโบราณหลายชนิดยังมีผู้นำมารื้อฟื้นปรุงกันใหม่เพราะมีชื่อเป็นที่รู้จักจากวรรณคดีเรื่องนี้ด้วย
ใบงานที่ ๑
เรื่อง “ กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน ”
ชื่อ………………………………………….……………เลขที่……..ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
๑. นักเรียนคิดว่าสิ่งใดคือลักษณะสำคัญที่สุดของบทเรียนเรื่องกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน
...................................................................................................................................................................... ......................................................................................................................................................................
๒. นักเรียนคิดว่า บทเรียนเรื่อง กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน มีกลวิธีการเขียนอย่างไรบ้าง
๒. นักเรียนคิดว่า บทเรียนเรื่อง กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน มีกลวิธีการเขียนอย่างไรบ้าง
..................................................................................................................................................................... ......................................................................................................................................................................
๓. นักเรียนคิดว่า บทเรียนเรื่อง กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน มีประโยชน์อย่างไร
๓. นักเรียนคิดว่า บทเรียนเรื่อง กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน มีประโยชน์อย่างไร
...................................................................................................................................................................... ......................................................................................................................................................................
๔. นักเรียนคิดว่า บทเรียนเรื่อง กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน ให้ข้อคิดอย่างไร
๔. นักเรียนคิดว่า บทเรียนเรื่อง กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน ให้ข้อคิดอย่างไร
...................................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................................... ......................................................................................................................................................................
ใบงานที่ ๒
เรื่อง “กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน ”
ชื่อ………………………………………….……………เลขที่…....ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
๑.ให้นักเรียนบอกความเป็นมาและความสำคัญของ “กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน ” มาให้ถูกต้อง
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
๒. นักเรียนคิดว่า คุณค่าของวรรณคดีเรื่องนี้อยู่ที่ใด เพราะเหตุใด
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
ใบงานที่ ๓
ชื่อ………………………………………….……………เลขที่……..ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
คำชี้แจง ให้นักเรียนถอดใจความสำคัญของคำประพันธ์ต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
ก. มัสมั่นแกงแก้วตา หอมยี่หร่ารสร้อนแรง
ชายใดได้กลืนแกง แรงอยากให้ใฝ่ฝันหา
ยำใหญ่ใส่สารพัด วางจานจัดหลายเหลือตรา
รสดีด้วยน้ำปลา ญี่ปุ่นล้ำย้ำยวนใจ
....………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
ข. เห็นหรุ่มรุมทรวงเศร้า รุ่มรุ่มเร้าคือไฟฟอน
เจ็บไกลใจอาวรณ์ ร้อนรุมรุ่มกลุ้มกลางทรวง....………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
ค. ขนมจีบเจ้าจีบห่อ งามสมส่อประพิมพาย
นึกน้องนุ่งจีบถวาย ชายพกจีบกลีบแนบเนียน
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
ใบงานที่ ๔
เรื่อง “กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน”
ชื่อ………………………………………….……………เลขที่……..ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
๑. ผู้แต่งมีจุดมุ่งหมายประการใดในการเขียนเรื่องนี้ขึ้น
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
๒. ผู้แต่งมีวิธีกล่าวถึงอาหารคาวหวานอะไรบ้าง นักเรียนลองจำแนกออกเป็นพวกหรือประเภทตามความเข้าใจ
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
ใบงานที่ ๕
เรื่อง “กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน”
ชื่อ………………………………………….……………เลขที่……..ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
๑. นักเรียนคิดว่า ผู้แต่งเรื่อง “ กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน ” คือใคร
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
๒. นักเรียนคิดว่า เรื่อง “กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน” แต่งในสมัยใด
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
๓. นักเรียนคิดว่า เรื่อง “กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน” ได้สะท้อนถึงวัฒนธรรมไทยทางด้านอาหารการกินอย่างไรบ้าง
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
ใบงานที่ ๖
ชื่อ………………………………………….……………เลขที่……..ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
คำชี้แจง ให้นักเรียนเขียนแผนที่ความคิด (Mind Mapping ) “ กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน ”
ใบงานที่ ๗
เรื่อง “กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน”
ชื่อ………………………………………….……………เลขที่……..ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
คำชี้แจง ให้นักเรียนเขียนคำอ่านพร้อมบอกความหมายจากคำที่กำหนดให้ถูกต้อง
เมืองบน.......................................................................................................................................
ยำใหญ่..........................................................................................................................................
ยี่หร่า..........................................................................................................................................
รังนก..........................................................................................................................................
รางชาง..........................................................................................................................................
ล่าเตียง..........................................................................................................................................
ลูกเอ็น..........................................................................................................................................
แสร้งว่า..........................................................................................................................................
หมูแนม...................................................................................................................................
ใบงานที่ ๘
เรื่อง “ กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน ”
ชื่อ………………………………………….……………เลขที่……..ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามจากการอ่านเรื่อง “ กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน ” ให้ถูกต้อง
๑. ให้นักเรียนระบุชนิดของอาหารที่พบในเรื่องกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานในบทเรียน ว่ามีกี่ชนิด อะไรบ้าง อธิบายวิธีปรุงอาหารที่นักเรียนรู้จักมาอย่างน้อย ๑ ชนิด พร้อมทั้งหาภาพประกอบด้วย
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
๒. ให้นักเรียนจำแนกประเภทของอาหารไทย และอาหารเทศตามที่ปรากฏในเรื่อง
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
๓. ให้นักเรียนรวบรวมสำนวนไทยที่เกี่ยวกับอาหารพร้อมคำอธิบายให้ถูกต้อง
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
ใบงานที่ ๙
เรื่อง “ กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน ”
ชื่อ………………………………………….……………เลขที่……..ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
คำชี้แจง ให้นักเรียนสรุปเรื่องย่อและเขียนข้อคิดที่ได้จากการอ่านเรื่อง “ กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน ” ให้ถูกต้อง
๑. เรื่องย่อ
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
๒. ข้อคิดที่ได้จากการอ่าน
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
ใบงานที่ ๑๐
ชื่อ………………………………………….……………เลขที่……..ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
คำชี้แจง ให้นักเรียนถอดใจความสำคัญของเรื่องกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน ให้ถูกต้อง
ขนมจีบเจ้าจีบห่อ งามสมส่อประพิมพาย
นึกน้องนุ่งจีบถวาย ชายพกจีบกลีบแนบเนียน
............................................................................................................................................................................... ...............................................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................................... ...............................................................................................................................................................................
ก้อยกุ้งปรุงประทิ่น วางถึงลิ้นดิ้นแดโดย
รสทิพย์หยิบมาโปรย ฤๅจะเปรียบเทียบทันขวัญ
...............................................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................................... ...............................................................................................................................................................................
แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
คำชี้แจง ให้ผู้สอนสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในระหว่างเรียนและนอกเวลาเรียน แล้วขีด P ลง
ในช่องที่ตรงกับระดับคะแนน
คุณลักษณะ อันพึงประสงค์ | รายการประเมิน | ระดับคะแนน | ||
๓ | ๒ | ๑ | ||
๑. ซื่อสัตย์สุจริต | ๑.๑ ประพฤติตามระเบียบการสอนและไม่ลอกการบ้าน ๑.๒ ประพฤติ ปฏิบัติ ตรงต่อความเป็นจริงต่อตนเอง ๑.๓ ประพฤติ ปฏิบัติ ตรงต่อความเป็นจริงต่อผู้อื่น | |||
๒. มีวินัย | ๒.๑ เข้าเรียนตรงเวลา ๒.๒ แต่งกายเรียบร้อยเหมาะสมกับกาลเทศะ ๒.๓ ปฏิบัติตามกฎระเบียบของห้อง | |||
๓. ขยัน | ๓.๑ แสวงหาข้อมูลจากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ ๓.๒ มีการจดบันทึกความรู้อย่างเป็นระบบ ๓.๓ สรุปความรู้ได้อย่างมีเหตุผล | |||
๔. มุ่งมั่นใน การทำงาน | ๔.๑ มีความตั้งใจและพยายามในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย ๔.๒ มีความอดทนและไม่ท้อแท้ต่ออุปสรรคเพื่อให้งานสำเร็จ |
ลงชื่อ................................................................ผู้ประเมิน
เกณฑ์การให้คะแนน
- พฤติกรรมที่ปฏิบัติชัดเจนและสม่ำเสมอ ให้ ๓ คะแนน
- พฤติกรรมที่ปฏิบัติชัดเจนและบ่อยครั้ง ให้ ๒ คะแนน
- พฤติกรรมที่ปฏิบัติบางครั้ง ให้ ๑ คะแนน
แบบประเมินผลการอ่านออกเสียงร้อยกรอง (กลุ่ม)
คำชี้แจง ให้ผู้สังเกตพิจารณาคุณภาพของผู้เรียนแต่ละคน แล้วเขียนเครื่องหมาย P ลง
ในช่องระดับคะแนน
ชื่อ / กลุ่ม | พฤติกรรม / ระดับคะแนน | |||||||||||||||||||
ความ พร้อมเพรียง | การสอดแทรก | ลีลาจังหวะ | อักขรวิธี | รวม ๑๖ | ||||||||||||||||
๔ | ๓ | ๒ | ๑ | ๔ | ๓ | ๒ | ๑ | ๔ | ๓ | ๒ | ๑ | ๔ | ๓ | ๒ | ๑ | |||||
ลงชื่อ .............................................ผู้ประเมิน
เกณฑ์การให้ค่าระดับคะแนน แบบประเมินผลการอ่านออกเสียงร้อยกรอง (กลุ่ม)
รายการประเมิน | ระดับคุณภาพ | |||
ดีมาก (๔) | ดี (๓) | พอใช้ (๒) | ควรปรับปรุง (๑) | |
๑. ความพร้อม-เพรียง | อ่านพร้อม-เพรียงกันทุกคน | อ่านค่อนข้างจะพร้อมเพรียง | อ่านพร้อมบ้างไม่พร้อมบ้าง | ไม่พร้อมเพรียง |
๒. การสอดแทรกอารมณ์ | สอดแทรกอารมณ์ใน การอ่านได้อย่างเหมาะสมชัดเจน ถูกต้องทุกคน | สอดแทรกอารมณ์ใน การอ่านได้อย่างเหมาะสม | สอดแทรกอารมณ์ในการอ่านเป็นบางครั้ง | ขาดอารมณ์ในการอ่าน |
๓. ลีลาจังหวะ | มีลีลาจังหวะเป็นไปตามฉันทลักษณ์ รู้จักเก็บคำ รวบรวมคำได้ดี | มีลีลาจังหวะเป็นไปตาม ฉันทลักษณ์ | มีลีลาจังหวะเป็นไปตาม ฉันทลักษณ์บ้าง | ขาดลีลาจังหวะในการอ่าน |
๔. อักขรวิธี | ตัว ร ล คำ ควบกล้ำถูกต้องชัดเจน | ขาดความชัดเจนของตัว ร ล หรือคำควบกล้ำ อย่างใดอย่างหนึ่ง | ตัว ร ล คำ ควบกล้ำชัดเจนบ้าง | ตัว ร ล คำ ควบกล้ำไม่ ชัดเจน |
เกณฑ์การตัดสิน
๑๕ คะแนนขึ้นไป ดีมาก
๑๐ – ๑๔ คะแนน ดี
๖ – ๙ คะแนน พอใช้
๐ – ๕ คะแนน ควรปรับปรุง
เกณฑ์ผ่านร้อยละ ๖๐
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น